โรค SLE คืออะไร..
โรค SLE หรือ Lupus (ชาวบ้านทั่วไปมักรู้จักในนามโรคพุ่มพวง) นับว่าเป็นโรคแปลกประหลาดโรคหนึ่งเนื่องจากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับอวัยวะได้หลายระบบ เช่น ผิวหนัง กระดูกไต ปอด หัวใจ สมอง ประสาทและเลือด เป็นต้น คนที่เป็นโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันเป็นอย่างมาก จึงมักจะสร้างความปวดหัวให้กับแพทย์ในการวินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคอะไรกันแน่
SLE มีอาการอย่างไรบ้าง...
อาการของ SLE มีความหลากหลายมากเนื่องจากคนที่ป่วยเป็นโรคนี้มีโอกาสเกิดความ ผิดปกติขึ้นได้กับทุกๆ ระบบและทุกๆ อวัยวะของร่างกาย เช่น ผิวหนัง เยื่อเมือก ขนและผม ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ การทำงานของไต ระบบประสาท ระบบการไหลเวียนของโลหิต หัวใจ ปอดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น แล้วแต่จะแสดงอาการผิดปกติออกมาในส่วนใดของ ร่างกายและจะเป็นหนักในระบบใด ไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกระบบและไม่จำเป็นต้องมีอาการ มาก ในบางคนอาจมีเพียงอาการที่ก่อให้เกิดความรำคาญไปเรื่อยๆ แต่บางครั้งถึงแม้เป็นเพียง ช่วงเวลาสั้นๆ ก็จะทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากความผิดปกติไปเกิดที่ไตหรือสมองหรือมีการ ติดเชื้อรุนแรงแทรกซ้อน
ใครบ้างมีโอกาสเป็น SLE...
SLE เป็นกันได้ทุกเพศทุกวัย แต่มักจะพบในช่วงอายุ 20-45 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 10 เท่า โดยเฉพาะจะพบมากในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย จะสังเกตอาการด้วยตนเองอย่างไร... อาการที่สามารถสังเกตได้คือ มีผื่นหรือฝ้าแดงขึ้นที่ข้างจมูกทั้งสองข้างซึ่งมีลักษณะเหมือนปีกผีเสื้อ แพ้แสงแดด มีแผลในช่องปากและเพดานปาก ผมร่วง กล้ามเนื้ออ่อนแรงมีความผิดปกติของระบบประสาททั้งในทางความคิดและอาการที่แสดงออกมาทางร่างกาย ให้เห็น เช่น ชัก เกร็ง อ่อนแรง มีไข้ อ่อนเพลีย เป็นต้น มีผื่นดำที่คล้ายแผลเป็นตามใบหู รูหู หนังศีรษะและบริเวณศอก อาจมีอาการบวมๆ ยุบๆ ตามหนังตา ขา เท้าหรือมือ หากมีการตรวจเลือดก็มักจะพบว่าเม็ดเลือดขาวต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ โลหิตจางหรือตรวจพบผลบวกของ ซิฟิลิสในเลือดทั้งๆ ที่ไม่เคยยุ่งกับใคร มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ อาจมีอาการเจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าลึกๆ หากคุณมีอาการผิดปกติดังกล่าว ถึงแม้ว่าอาจเป็นเพียงอาการใดอาการหนึ่งก็ควรพบแพทย์โดยด่วนเพื่อตรวจให้ถี่ถ้วน เพื่อรักษาแต่เนิ่นๆ
สาเหตุ SLE ในทัศนะการแพทย์ตะวันตก..
อ ถึงแม้ว่าปัจจุบันการแพทย์ตะวันตกมีความก้าวหน้าไปมากก็ตาม แต่ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของ SLE เพียงแค่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนอง ต่อเชื้อโรคหรือสารเคมีบางอย่างผิดปกติ ทำให้มีการสร้างแอนติบอดีหรือสารภูมิคุ้มกันต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ของตัวเอง SLE จึงจัดเป็นโรคภูมิต้านทานตัวเองเช่นเดียวกับโรคปวดข้อรูมาตอยด์ บางครั้งอาจพบสาเหตุที่กระตุ้นให้อาการกำเริบ เช่น ยาบางชนิด การถูกแสงแดด การกระทบกระเทือนทางจิตใจ การตั้งครรภ์ เป็นต้น นอกจากนี้ SLE อาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์และ ฮอร์โมนเพศหญิงด้วยเนื่องจากพบมากในผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็น SLE ผู้หญิงวัยหลังมี ประจำเดือนและก่อนวัยหมดประจำเดือน
สาเหตุ SLE ในทัศนะการแพทย์จีน...
การแพทย์จีนได้จัดโรค SLE ให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากเส้นลมปราณติดขัด และภาวะพิษเย็น-ชื้นที่สะสมในร่างกายมากเกินไป เมื่อความเย็นและความชื้นสะสมในร่างกายมากเกินไปก็จะเกิดความเป็นพิษต่อร่างกาย โรคปวดข้อรูมาตอยด์ก็เกิดจาก สาเหตุนี้เช่นกัน) พลังลมปราณและระบบการไหลเวียนของโลหิตที่สมบูรณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ถ้าเส้นลมปราณ หลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อถูกทำลายจาก พิษเย็น-ชื้นที่สะสมในร่างกาย ก็จะส่งผลให้พลังลมปราณและเลือดไหลเวียนช้าลงเกิดการคั่งของเลือดและพลังลมปราณ เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะนี้เป็นเวลานานจนไม่สามารถปรับตัวรองรับได้อีก การทำงานของร่างกายก็จะรวนไปหมดพร้อมทั้งแสดงอาการผิดปกติตามระบบต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ พิษร้อนจากแสงแดดที่แทรกเข้าไปทำลายสารเหลวต่างๆ ในร่างกายและระบบการไหลเวียนของโลหิตก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เป็น SLE ได้เช่นกัน
วิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็น SLE...
การดูแลตนเองอย่างถูกวิธีสำหรับผู้ป่วย SLE จะมีส่วนสำคัญในการช่วยให้อาการต่างๆ ทุเลาลง
วันที่: Tue Jul 22 04:05:43 ICT 2025
|
|
|